เครือข่ายเฉพาะที่(LAN)


         เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network :LAN)   เป็นระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เครือข่ายส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในบริเวณที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในอาคาร  ภายในสำนักงาน  ภายในองค์กร เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตซ์ สายตีเกียวคู่ คลื่นวิทยุ เป็นต้น ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค



การเชื่อมโยงเครือข่าย LAN  ที่นิยมใช้กันมี 2 รูปแบบดังนี้
               1. เครือข่าย LAN แบบอีเทอร์เน็ต  มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว10-100 Mbps. มีพื้นฐานรูปแบบการเชื่อมโยงร่วมกันแบบบัส คือ ทุกอุปกรณ์จะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียว ดังนั้น การรับส่งต้องมีการจัดการไม่ให้รับส่งพร้อมกันเกินกว่าหนึ่งคู่ขบวนการรับส่งข้อมูลจึงถูกกำหนดขึ้น โดยให้อุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลตรวจสอบว่า มีข้อมูลใดวิ่งอยู่บนสายหรือไม่ หากไม่มีจึงส่งได้และถ้ามีการชนกันของข้อมูลบนสายก็จะส่งใหม่ การหลีกเลี่ยงการชนกันจึงกระทำได้ในเครือข่ายระยะใกล้
                2. เครือข่าย LAN แบบโทเก็นริง   มีความ เร็ว 16 Mbps. เชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนโดยแพ็กเก็ตข้อมูลจะวิ่งวนในทิศทางใดทางหนึ่ง ถ้ามีแอดเดรสปลายทางเป็นของใครอุปกรณ์นั้นจะรับข้อมูลไปการจัดการรับส่งข้อมูลในวงแหวนจึงเป็นไปอย่างมีระเบียบ
ประโยชน์ของระบบ LAN  คือ
             1.  การใช้ทรัพยากรทางฮาร์ดแวร์ร่วมกัน เนื่องจากอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์แต่ละชนิดมีราคาค่อนข้างสูง เพื่อให้ใช้ทรัพยากรเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีการนำอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ร่วมกันเป็นส่วนกลาง เช่น เครื่องพิมพ์  พล็อตเตอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
            2.  การใช้ซอฟต์แวร์ร่วมกัน เนื่องจากซอฟต์แวร์ก็จัดเป็นทรัพยากรที่มีค่าอย่างหนึ่ง จึงน่าจะนำมาใช้ร่วมกันในระบบ ซึ่งเป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ และยังสามารถใช้ร่วมกันได้อีก นอกจากนี้ยังสามารถทำการดูแลรักษาได้ง่าย เช่น เมื่อต้องการอัปเกรดซอฟต์แวร์ใดก็จะทำการอัปเกรดทีเดียว แต่จะมีผลถึงผู้ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ทั้งระบบ หรือการดูแลรักษาอื่นๆ เช่น ใช้ในการป้องกันไวรัสจากผู้ใช้ก็สามารถทำได้โดยกำหนดสิทธิของผุ้ใช้ไม่ให้มีสิทธิในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือเขียนข้อมูลทับลงไปในซอฟต์แวร์ที่มีการใช้ร่วมกัน ไวรัสก็จะหมดโอกาสที่จะติดเข้าไปในซอฟต์แวร์นั้น เป็นต้น
            3.  การใช้ข้อมูลร่วมกัน ในแต่ละหน่วยงานจะมีข้อมูลซึ่งอาจจะต้องใช้ร่วมกัน หากต้องทำการคัดลอกไปไว้ในแต่ละเครื่องคงเป็นการยุ่งยาก และสิ้นเปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลนั้นมาก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว ระบบ LAN ถูกนำเข้ามาช่วยในการใช้ข้อมูลร่วมกัน นอกจากนั้นยังทำให้สะดวกเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะมีผลไปทั้งระบบ และยังสามารถกำหนดได้ว่าจะให้ผู้ใช้คนใดสามารถใช้ข้อมูลใดได้อีกด้วย เป็นการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลที่เป็นความลับ ทั้งง่ายต่อการทำสำรอง (backup) ข้อมูลเหล่านั้น
            4. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) การติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน บางครั้งการทำงานอาจจะต้องมีการติดต่อกันระหว่างผู้ใช้ ซึ่งหากผู้ใช้อยู่ห่างกันมากๆ การติดต่ออาจทำได้ไม่สะดวก ระบบ LAN เริ่มเข้ามามีบทบาทโดยเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งอาจจะเป็นการติดต่อในลักษณะที่ผู้ใช้ที่ต้องการติดต่อด้วยไม่อยู่ก็อาจจะฝากข้อความเอาไว้ในระบบ เมื่อผู้ใช้คนนั้นเข้ามาใช้ระบบก็จะมีการแจ้งข่าวสารนั้นทันที

ข้อดีของระบบ LAN
            เนื่องจากผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต 

ข้อเสียของระบบ LAN  
         การติดตั้งระบบเครือข่าย LAN จะสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการได้ ในการใช้เครือข่าย LAN ย่อมต้องมีข้อเสียหรือขีดจำกัดในการใช้งานเช่นกัน
            1. ยังมีระบบอื่นที่ทำงานได้ดีเช่นกัน หรือดีกว่าสำหรับในสำนักงาน เช่น ระบบ One - line ซึ่งมีการใช้กันมาก่อนระบบ LAN ระบบสวิตชิ่งดิจิตอล PABX หรือตู้ชุมสายในอาคารซึ่งสามารถสื่อสารข้อมูลได้ทั้งเสียงและข้อมูลเช่นเดียวกันกับ LAN โดยผ่านสายโทรศัพท์ 
            2. ซอฟแวร์ที่ใช้กับระบบ LAN ในปัจจุบันยังพัฒนาได้ไม่ดีเทียบเท่ากับซอฟแวร์ในระบบของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ หรือเมนเฟรมซึ่งมีมาก่อน และราคาของ ซอฟแวร์สำหรับระบบ LAN ยังมีราคาสูงอยู่มาก
          3. ระบบรักษาความปลอดภัยยังไม่ดีพอ เมื่อเทียบกับระบบในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม
            4. เนื่องจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่น ๆ มีความหลากหลายอยู่มาก จึงยากต่อการควบคุมให้มีมาตรฐานการทำงานเดียวกัน และยุ่งยากต่อการดูและรักษา 
            5. ระบบฐานข้อมูลเป็นระบบกระจายไปตามจุดของผู้ใช้ต่าง ๆ จึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น