ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์



           ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)  คือ การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปที่เป็นอิสระต่อกันนำมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายนั้นสามารถติดต่อกันหรือทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในเครือข่ายได้ ซึ่งในการติดต่อเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในเครือข่ายนั้นจะต้องอาศัยช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ และก็ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้แบบใด เช่น อาจจะใช้สายโทรศัพท์ สายไฟฟ้า หรือผ่านทางสื่อแบบอื่น ๆ ได้แก่ โมเด็ม (Modem) ไมโครเวฟ (Microwave) สัญญาณอินฟราเรด (Infrared) เป็นต้น
             ระบบเครือข่าย (Network) คือ ระบบที่นำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC หรือ Personal Computer) แต่ละเครื่องมาเชื่อมต่อกันด้วยกลวิธีทางระบบคอมพิวเตอร์นั่นเอง
          ประโยชน์ของระบบเครือข่าย

          ประโยชน์ของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันนั้นมีหลายประการได้แก่
          1. สามารถใช้ทรัพยากร (Resource) ที่มีราคาสูงร่วมกันได้ เช่น Harddisk, Printer เป็นต้นทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Hardware ลงไปได้มาก
          2. สามารถนำระบบเครือข่าย (Network) ไปเชื่อมต่อหรือเป็นประตูทางผ่าน (Gateway) เพื่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์ระบบอื่น ๆ ได้ เช่น Minicomputer. Mainframe เป็นต้น
       3. ประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้าน Software เนื่องจากสามารถติดตั้ง Software ที่เป็นแบบเครือข่าย (Network) โดยราคาที่ติดตั้งแบบเครือข่ายนั้นจะถูกกว่าการซื้อ Software มาติดตั้งที่ HarddisK ของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่อง รวมทั้งเป็นการง่ายต่อการบำรุงรักษา (Maintenance) เช่น การ Update Software ที่ทุก ๆ เครื่องทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก
          4. User สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เนื่องจากข้อมูลของ User จะเก็บอยู่ใน Harddisk ตัวเดียวกันหมด นอกจากนั้น User สามารถนั่งทำงานที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ ซึ่งสามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลของตนเองได้เสมอ
         5. สามารถใช้งานโปรแกรมประเภท Multiuser ได้ Multiuser คือ โปรแกรมที่ใช้งานได้หลาย ๆ คนพร้อม ๆ กัน
         ประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่กล่าวข้างต้นเป็นแบบคร่าว ๆ แต่ถ้าจะแบ่งเป็นประเภทหรือเป็นหมวดหมู่ให้เห็นและเข้าใจได้อย่างชัดเจนแล้ว สามารถแบ่งประโยชน์ของระบบเครือข่ายที่มีต่อผู้ใช้แบ่งหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้
             1. การใช้ Hardware ร่วมกัน ดังนี้ที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นว่า ระบบเครือข่ายจะช่วยให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่อง Hardware ลงไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากจะสามารถนำ Hardware บางประเภทมาใช้งานร่วมกันได้ ได้แก่
               - Share Diskspace เป็นการใช้งานร่วมกันของเนื้อที่ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลซึ่งรวม Harddisk และ CD ROMS (Compace-Disk Read-Only Memory) ซึ่งจะใช้ Harddisk หรือ CD ROMS จากเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) ที่เรียกว่า File Server โดย File Server นี้จะเป็นเครื่องที่ใช้ในการเก็บข้อมูล (Data) ของ User และ Software ของระบบทั้งหมด รวมทั้งควบคุมการทำงานของระบบ Network ด้วย
                - Share printer เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripherals) ที่ใช้งานมากที่สุดโดยเฉพาะในปัจจุบันมี Printer ราคาสูงเกิดขึ้นมากมายโดยเฉพาะ Laser Printer และเครื่องพิมพ์สี (Color Printer)ซึ่งมีราคาแพงและจำเป็นต้องนำมาใช้งานร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนอกจากนั้นในกรณีที่เรานำเครื่องพิมพ์มาใช้งานในระบบ Network มากกว่า 1 เครื่อง เช่น Dot Matrix, Laser Printer, Color Printer, Ink Jet เป็นต้น ในการส่งงานไปพิมพ์นั้น และสามารถเลือกได้ว่าต้องการใช้งานเครื่องพิมพ์ชนิดใดได้ด้วย ซึ่งทำให้การทำงานง่ายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
               - Share Communication Devices เป็นการนำอุปกรณ์สื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น Modem ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนถ่ายข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยอาศัย สายโทรศัพท์ นอกจาก Modem แล้วอุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันได้คือ FAX โดยสามารถที่จะทำการพิมพ์ข้อมูลที่ Workstation ส่วนตัว และส่งผ่านข้อมูลผ่านระบบ Network ไปที่เครื่อง FAX ได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องกระดาษ แล้วเดินไปส่ง FAX ;ที่เครื่อง FAX อื่น ๆ อีกต่อไป
          2. การใช้ Software ร่วมกัน Software ที่ใช้งานบนระบบ Network แบ่งออกเป็น Software Packages และ Data เมื่อใช้ระบบ Network สามารถที่จะนำ Software ทั้ง 2 ชนิดมาใช้งานร่วมกันได้
            - Share Software Packages ในปัจจุบันสิ่งที่เป็นปัญหาอยู่ก็คือ เรื่องของลิขสิทธิ์ทาง ถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่องช้างแยกกันอยู่ก็จำเป็นที่จะต้องซื้อ Software ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายมาใช้งาน นั่นคือ 1 ชุดต่อ 1 เครื่อง รวมทั้งยังต้องคอยระวังในเรื่องของการ Copy Software มาใช้งานเองของ User แต่ละคนด้วย การนำระบบ Network มาใช้งานจะช่วยลดปัญหาของการทำผิดกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ได้
          นอกจากนั้น Software ที่ใช้งานบนระบบ Network จะมีความคล่องตัวกว่า Software บนเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการ Maintain หรือการซ่อมบำรุง ปรับปรุง Software ให้ถูกต้อง เช่น มีรุ่นที่ Upgrade มาใหม่ จะสามารถติดตั้งและ Upgrade Software ทั้ง 10 เครื่อง ซึ่งเสียเวลามาก นอกจากนี้กรณีที่ใช้ Workstation ประเภท Diskless Workstation User จะไม่มีสิทธิ์ในการใช้งานแผ่น Disk เลย ทำให้สามารถขจัดปัญหาของ Virus ที่สามารถจะแพร่ระบาดอยู่ได้รวมทั้งการตรวจสอบ Virus ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แต่ละเครื่องแต่ตรวจสอบที่ File ;Server เพียงเครื่องเดียว ทำให้ประหยัดเวลา และเกิดการทำงานที่คล่องตัวมากยิ่งขึ้น
           สำหรับเรื่องของ License หรือลิขสิทธิ์นั้น Software ที่จะนำมาใช้งานบนระบบ Network จะต้องเป็น Software รุ่น Network เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันมี License Softwareสำหรับระบบ Network อยู่ 2 แบบ คือ
          1. Concurrent Use License หมายถึง Software ที่ระบุจำนวน User สามารถใช้งานได้สูงสุดบนระบบ Network เช่น แบบ 20 Copy นั่นหมายถึง User สามารถใช้งาน Software ตัวนี้สามารถใช้งานได้พร้อมกัน 20 คน
          2. Per User License หมายถึง Software ที่จะต้องระบุจำนวน User ลงไปเลยว่าต้องการใช้เท่าใดแต่ในการทำงานจริง ๆ แล้วจะใช้กี่คนพร้อมกันก็ได้
             - Share Data ปัญหาที่เกิดขึ้นแน่นอนสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) แยกกันก็คือ ในกรณีที่เราต้องการข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งจะต้อง Copy ลงในแผ่นดิสก์แล้วนำไปเรียกใช้จากเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าข้อมูลนั้นมีขนาดใหญ่ หรือาต้องการใช้งานข้อมูลร่วมกันบ่อย ๆ จะทำให้เสียเวลาในการ Copy ข้อมูลมาก ถ้านำระบบ Network มาใช้งานข้อมูลของ User แต่ละคนจะถูกเก็บไว้ในที่เดียวกัน คือ Harddidk ของ File Server ดังนั้น User แต่ละคนจะสามารถเรียกใช้ข้อมูลซึ่งกันและกันได้ทันทีแต่ทั้งขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธิ ในการเรียกใช้ข้อมูลของแต่ละ User ซึ่งจะสามารถกำหนดได้ว่า User คนใดจะสามารถใช้งานข้อมูลใดได้ถึงระดับใดบ้าง จากประโยชน์ขอการใช้ Software ร่วมกันนี้ ข้อมูลจะถูกเก็บอยู่ที่ File Server ข้อมูลจึงถูกต้อง ทันสมัยและรวดเร็ว เป็นการควบคุมข้อมูลที่จุดศูนย์กลาง โดยแต่ละ Workstation สามารถใช้ข้อมูลของ Workstation อื่นได้ทีนทีถ้ามีสิทธิ์ โดยไม่ต้องรีรอจึงทำให้การทำงานสะดวกขึ้น (Flexibke) นอกจากนั้น ยังลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและลดเวลาในการทำงาน คือ แทนที่จะต้องเสียเวลาในการรอข้อมูลซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะทำงานขั้นต่อไป ก็ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและลดความผิดพลาดที่เกิดจากข้อมูลไม่ถูกต้องทันสมัย
          3. การเชื่อมต่อกับระบบอื่น ในระบบงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) เมื่อต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) มาเชื่อมต่อมกับระบบอื่น เช่น Mainframe Emulation ปัญหาก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ (Pc) 1 เครื่องจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษต่อเชื่อม 1 ชุด ซึ่งปกติจะมีราคาสูงมาก เมื่อมีการทำงานที่มากขึ้นการต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์(PC) เพียง 1 ชุด อาจไม่เพียงพอในการใช้งาน อาจจำเป็นต้องต่อมากยิ่งขึ้นทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากตามไปด้วย แต่ถ้ามีระบบ Network อยู่แล้ว สามารถที่จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และอุปกรณ์ต่อเชื่อมสำหรับระบบเพียง 1 ชุดมาใช้งาน หลังจากนั้น Workstation เครื่องอื่นที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อเชื่อมนี้ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นได้ด้วย เสมือนมีอุปกรณ์เชื่อมต่อติดตั้งที่เครื่องของตนเองลักษณะเช่นนี้เรียกว่า Gateway
           4. การใช้ระบบ Multiusers การใช้ระบบ Multiusers หมายถึง ระบบที่ User สามารถใช้โปรแกรมหรือข้อมูลเดียวกันได้ครั้งละหลาย ๆ คน ซึ่ง Network นั้นสามารถใช้งานระบบนี้ได้เป็นอย่างดี ทำให้ใปัจจุบันผู้ใช้งานในระบบ Mainframe หรือ Mini Computer ได้หันมาเล็งเห็นถึงความสำคัญขอระบบ Network และเริ่มใช้งานระบบนี้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนของการทำงานในระบบ Multiusers ได้แก่
               - E-Mail (Electronic Mail ) ซึ่ง User แต่ละคนสามารถส่งและรับข้อมูลหรือข่าวสารซึ่งกันและกันได้ โดยผ่านทาง Workstation ของตนเอง มีโปรแกรมที่ใช้งานแบบ E-Mail ได้มากมายเ ช่น Work Perfect Office, CC-Mail, Microsoft Exchange, Microsoft Outlook เป็นต้น
               - Schedule หรือ Group Calendar เป็นโปรแกรมที่รวบรวมปฏิทินรายวันของ User แต่ละคนมารวมกันเป็นตาราง (Schedule) ของทั้งระบบ ทำให้ผู้จัดการระบบสามารถทราบนัดหมายต่าง ๆ ของ User แต่ละคนได้ และวางแผนการทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น Word Perfect Office
                - Database สามารถใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเดียวกันได้พร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน File Server ได้ถูกพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนมี File Server เฉพาะสำหรับงาน Database เรียกว่า Database จึงมีผู้กล่าวว่าประสิทธิภาพในการทำงานของ Database Server นี้ใกล้เคียงหรืออาจจะดีกว่าแบบ Mini Computer เสียอีก ดังนั้น การจะนำระบบ Network มาใช้งานในองค์กรนั้น จึงควรพิจารณาถึงความเหมาะสมและความเป็นไปได้ด้วย ถึงแม้จะประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Hardware เนื่องจากสามารถนำอุปกรณ์บางอย่างมาใช้ร่วมกันได้ก็จริงอยู่ แต่การลงทุนในตอนเริ่มต้นก็สูงเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากเราต้องซื้อ Server ที่มีประสิทธิ์ภาพสูงรวมทั้งอุปกรณ์การติดตั้งอื่น ๆ อีกหลายอย่างดังนั้น ผู้ที่จะตัดสินใจนำระบบ Network มาใช้งานจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน ทั้งนี้อาจอาศัยรายละเอียดต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งนโยบายขององค์กร และงบประมาณทางการเงินอีกด้วย







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น