เครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet)



             เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet)  คือ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก โดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคม เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลายรูปแบบ อินเทอร์เน็ตเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตประกอบด้วย เครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน จนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะ ที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรี ภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และวุ่นวายจากการเชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก
          ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคน อาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท หรือ สถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงาน หรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายในองค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased Line) แทนที่จะเชื่อมต่อ ผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะ จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องของความเร็วในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย
         เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่าย ทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไปเพราะการ เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารต่างๆ สามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่ แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา
1) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
2) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
3) การใช้คอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล
4) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร
5) การอ่านจากกลุ่มข่าว
6) การสนทนาบนเครือข่าย
7) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย
8) การบริการบนอินเทอร์เน็ต

เครือข่ายภายนอกองค์กร(Extranet)


        Extranet หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร คือ เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือ เอกซ์ทราเน็ต(ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET)เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆเครือข่ายผ่าน Internet ก็ได้
          ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุมัติให้ใช้งานเพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิใน การใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจจะถูกแบ่ง เป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันออกไป

    
ความสำคัญของเอกซ์ทราเน็ต
            เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่าง มาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิง พาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กร จำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีเอกซ์ทราเน็ตจาก ระบบอินทราเน็ตที่จำกัดขอบเขตการทำงานอยู่ภายในองค์กรแต่ละองค์ ก็มีความพยายามที่จะขยายขอบเขตการใช้งานให้กว้างขวางขึ้น เป็นระบบเอกซ์ทราเน็ต

 
ประโยชน์เอ็กซ์ทราเน็ต
            - ทำให้ธุรกิจสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้ดีขึ้น เนื่องจากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายของบริษัทเข้ากับบริษัทคู่ค้า หรือบริษัทขายสินค้าโดยตรง เช่น ผู้ค้าปลีกที่มีการติดต่อกับผู้ค้าส่งย่อมมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่า สินค้าตัวไหนขายดี เป็นการตัดปัญหาเรื่องสินค้าขายตลาดไปได้ โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้
           - สามารถสร้างกลุ่มข่าวสารส่วนบุคคล (Private Newsgroup) ที่เป็นแหล่งที่ให้ธุรกิจที่รวมกลุ่มกันนั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ ประสบการณ์ต่างๆร่วมกัน
          - สามารถจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานร่วมกันภายในกลุ่มโดยผ่านทาง Extranet
         - แลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากโดยใช้ electronic data interchange (EDI)

เครือข่ายภายในองค์กร(Intranet)

         
             อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กรใช้เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมี เว็บไซต์ และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่อ
อินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับ ควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กรสามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่นไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่อง คอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้

ประโยชน์อินทราเน็ต

  ประโยชน์ของการนำอินทราเน็ตเข้ามาประยุกต์ใช้ในหน่วยงาน สามารถสรุปได้ดังนี้
            1. การสื่อสารเป็นแบบสากล ผู้ใช้ระบบอินทราเน็ตสามารถส่งข่าวสารในรูปของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสากลระหว่างผู้ร่วมงานภายในหน่วยงานและ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งอยู่ภายนอกหน่วยงานได้
            2. อินทราเน็ตใช้มาตรฐานเครือข่าย และโปรแกรมประยุกต์ได้เช่นเดียวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลาย และผ่านการยอมรับให้เป็นมาตรฐานตามความนิยมไปโดยปริยาย โดยมีทั้งผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เลือกใช้ได้หลากหลาย
            3. การลงทุนต่ำ ด้วยความต้องการด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คล้ายคลึงกับที่ใช้ในเครือข่าย อินเตอร์เน็ตซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกมากมายและราคาต่ำ จึงทำให้ค่าใช้จ่ายการวางระบบเครือข่ายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่ต้องลงทุนกับระบบอื่น ๆ
            4. ความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่ใช้นั้นได้ผ่านการทดลองใช้และปรับปรุง จนกระทั่งอยู่ในสถานภาพที่มีความเชื่อถือได้สูง
            5. สมรรถนะ สามารถสื่อสารข้อมูลรองรับการส่งข้อมูลที่ประกอบด้วย ข้อความ ภาพและเสียงได้ ใน ปัจจุบัน บริษัทธุรกิจชั้นนำในประเทศต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีอินทราเน็ตมาประยุกต์ใช้ในองค์กรกันอย่างแพร่หลาย สำหรับอินทราเน็ตในประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงของการเริ่มต้น และการขยายแนวความคิดให้กับผู้บริหารองค์กร อีกทั้งองค์กรหลายแห่งยังคงไม่พร้อมทั้งด้านงบประมาณ และบุคลากรที่จะเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง อินทราเน็ตจึงเป็นช่องทางในการพัฒนาและเตรียมความพร้อมในระยะแรก แต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก



เครือข่ายบริเวณกว้าง(WAN)


         เครือข่ายบริเวณกว้าง ( Wide Area Network :WAN)  เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่โลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น เครือข่ายอินเตอร์ เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้การเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่ง LAN เป็นเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในองคาร หรือพื้นที่ที่มีรัศมีประมาณ 2-3 กิโลเมตร ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล เช่น เครือข่ายภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้กระทั่งการเชื่อมต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่จัดอยู่ในประเภท WAN เช่น รีโมทแอ็กเซสส์ (Remote Access), สายคู่เช่า (Leased Line), ISDN (Integrated Service Digital Network), ADSL (Asynchronous Digital Subscribe Line), Frame Relay และระบบดาวเทียม เป็นต้น เครือข่าย WAN สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.    เครือข่ายส่วนตัว ( Private Network ) เป็นการจัดตั้งระบบเครือข่ายซึ่งมีการใช้งานเฉพาะองค์กรที่เป็นเจ้าของเครือข่ายอยู่ เพื่อเชื่อมโยงสาขาต่าง ๆ  ในระดับกายภาพ ( Physical Layer ) ของการเชื่อมต่อส่วนตัวจะยังคงต้องใช้ช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์ สายเช่า ดาวเทียม เป็นต้น ( เนื่องจากข้อกำหนดของประเทศต่าง ๆ โดยปกติแล้วจะไม่อนุญาตให้วางเครือข่ายเองได้)
 
ข้อดีของเครือข่ายส่วนตัว ( Private Network ) 
-   ในเรื่องของการรักษาความลับของข้อมูล
-    สามารถควบคุมดูแลเครือข่ายและขยายเครือข่ายไปยังจุดที่ต้องการ
ข้อเสียของเครือข่ายส่วนตัว ( Private Network )
-     ในกรณีที่ไม่ได้มีการส่งข้อมูลต่อเนื่องตลอดเวลา จะเสียค่าใช้จ่ายสูงมากเมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะ
-        ถ้ามีการส่งข้อมูลระหว่างสาขาต่างๆ จะต้องมีการจัดหาช่องทางสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างแต่ละสาขาด้วย  และอาจทำให้ไม่สามารถจัดหาช่องทางการสื่อสารไปยังพื้นที่ที่ต้องการได้

2.     เครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network ) เครือข่ายสาธารณะ บางครั้งเรียกว่า เครือข่ายมูลค่าเพิ่ม ( Value Added Network )  เป็นระบบเครือข่าย WAN  ซึ่งองค์กรที่ได้รับสัมปทานทำการจัดตั้งขึ้น เพื่อให้บุคคลทั่งไปหรือองค์กรอื่น ๆ ที่ไม่ต้องการวางเครือข่ายเองสามารถแบ่งกันเช่าใช้งานได้  ระบบเครือข่ายสาธารณะ นิยมใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแบบ WAN กันมาก

ข้อดีของเครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )

-       ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการจัดตั้งเครือข่ายส่วนตัว
-      สามารถใช้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาในการจัดตั้งเครือข่ายใหม่
-      มีบริการให้เลือกอย่างหลากหลาย

ข้อดีของเครือข่ายสาธารณะ ( Public Data Network )

-      ไม่สามารถเก็บรักษาความลับข้อมูลได้